Research Talk!!
จากบทความที่แล้วเกี่ยวกับการกินอาหารคลีน ซึ่งรวมไปถึงข้อดีของการกินอาหารคลีนแล้วนั้น เพื่อนๆหลายๆคนคงสังเกตเห็นว่ายังมีการพูดถึงข้อเสียของการกินคลีนอยู่ หลายๆคนคงสงสัยเมื่อได้ยินคำว่า ข้อเสียของการกินคลีน เพราะว่าพวกเราของเคยได้ยินแต่ข้อดีของการกินที่ดีขึ้น เช่น การกินอาหารคลีน
หลายๆงานวิจัยนั้นได้เชื่อมข้อเสียของการกินไปกับการส่งผลกระทบต่อจิดใจ จากการเคร่งครัดการกินที่มากเกินไป และอาจส่งผลต่อสุขภาพทางจิตได้ เช่น การส่งผลเสียต่อการเข้าสังคม จากการที่ควบคุมอาหารที่มากเกินไปจนไม่สามารถร่วมกิจกรรมสังสรรค์ทางสังคมบางอย่างได้ ซึ่งถ้าดำเนินไปในระยะยาวอาจจะมีผลทางจิตใจต่อผู้กินได้
ซึ่งบางครั้งนั้นการที่คนๆหนึ่งโดนกดดันให้กินในรูปแบบใดรูปแบบนึงในระยะเวลาที่ค่อนข้างนานอาจจะส่งผลเสีย มากกว่าผลดี
อ้างอิงจาก National Eating Disorders Association การกินอาหารคลีนที่มากเกินไป สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเกิด orthorexia nervosa หรือ อาการผิดปกติในการรับประทานอาหาร ซึ่งเป็นผลมาจากการมีความคิดวนเวียนเกี่ยวกับการกินอาหารเพื่อสุขภาพที่มากไปจนเกินพอดี คล้ายกับอาการคลั่งการลดน้ำหนัก ซึ่งจะสร้างผลเสียให้แก่ผู้กินมากกว่าผลดี
ถึงแม้ว่าจะมีการถกเถียงในหลายๆครั้งว่า อาการคลั่งกินคลีน นั้นไม่ได้อยู่ในหมวดหมู่ของ ความผิดปกติของการกิน แต่ว่าอยู่ภายใต้ความผิดปกติของ Avoidant/Restrictive Food Intake Disorder แทน
เพื่อนๆหลายๆคนอาจจะคิดว่าถ้ายังนี้ อดกินทางศาสนา อาการทางสุขภาพ หรือเพื่อทำตามพิธีบางอย่างนั้นจะเป็น orthorexia nervosa ด้วยหรือป่าว แต่จริงๆแล้วนั้นมันไม่เกี่ยวข้องกัน orthorexia นั้นเกิดขึ้นจากการหมกมุ่นในรูปแบบของการกินของตัวเอง
เทรนในการกินอาหารคลีนในบางครั้งที่ไม่ได้รับการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญในบางครั้งนั้นอาจจะส่งผลเสีย มากกว่า ผลดี ของผู้กิน การรับฟังคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถช่วยให้เพื่อนๆมีสุขภาพแข็งแรง และยังรักษาสมดุลในการใช้ชีวิตของตัวเองได้อย่างเต็มที่
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
https://www.medicalnewstoday.com/articles/clean-eating-what-does-the-research-say#The-potential-risks-of-clean-eating
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7352986/pdf/nutrients-12-01708.pdf
https://www.nationaleatingdisorders.org/dangers-dieting-clean-eating
https://www.medicalnewstoday.com/articles/orthorexia
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC6668093/